Service: Mon-Fri 8.00 AM-17.00 PM







ขั้นตอนของเทคนิคการขาย

1.การแสวงหารายชื่อลูกค้าอนาคต (Prospecting)    
เทคนิคขั้นแรกนี้พนักงานขายต้องพยายามหารายชื่อลูกค้าอนาคตใหัได้
ประโยชน์ของการแสวงหารายชื่อลูกค้าอนาคต
-เป็นการประหยัดเวลาที่มีอยู่จำกัดในการเลือกลูกค้าอนาคตว่ามีอำนาจในการตัดสินใจซื้อสินค้ามากร้อยเพียงใด
-เป็นการหาคำตอบว่าลูกค้าอนาคตต้องการสินค้าและบริการ ประเภทใด ลัหษณะใด ที่มีประโยชน์ต่อลูกค้าอนาคตมากที่สุด
2.การเตรียมตัวก่อนเข้าพบ (Pre-approach)
   การเตรียมความพร้อมจิตใจมุ่งมั่น พร้อมรับสถานการณ์ทุกรูปแบบ อีกทั้งเตรียมตัวด้านร่างกาย แต่งตัวสุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับรุปร่างและบุคลิกของตนเองที่สำคัญควรมีการเตรียมข้อมุลเกี่ยวกับประวัติของลูกค้าตลอดจนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการสาธิต และต้องตรวจสอบให้รอบคอบก่อนออกเดินทางว่าเตรียมพร้อมทุกอย่างแล้วจริงหรือไม่
ข้อมูลที่ควรเตรียมไว้ก่อนไปพบลูกค้า
-วิเคราะห์ข้อมูลสินค้าของเราที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า
-นำข้อเสียของคู่แข่ง มาเสริมจุดแข็งของเรา
-เตรียมข้อมูล คำพูด และประโยค สำหรับตอบคำถาม และข้อโต้แย้งที่อาจเกิดขึ้น
-ข้อมูลทั่วไปและประวัติการซื้อขาย และสต๊อกของลูกค้า
3.การเข้าพบ (Approach)
   เป็นขั้นที่พนักงานขายต้องเผชิญหน้ากับลูกค้า และเป็นขั้นที่มีความสำคัญมากที่จะกระตุ้นหรือจูงใจ ให้ลูกค้าเกิดความสนใจและประทับใจเป็นครั้งแรก (First impression) วิธีการเข้าพบลูกค้ามีเทคนิค และวิธีการหลายรูปแบบ ดังนี้
-การเข้าพบด้วยการแนะนำตนเอง
-การเข้าพบโดยอ้างถึงบุคคล
-การเข้าพบโดยการยกย่อง
-การเข้าพบโดยใช้สินค้านำเสนอ
-การเข้าพบโดยให้ของตอบแทน
วิธีการตอบคำถามที่ดี
-เรียบง่าย
-ชัดเจน เจาะจง แจ่มแจ้ง
-สั้น กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ
-ตรงประเด็น
-เน้นข้อเท็จจริงมากกว่าอารมณ์
-บรรลุตามวัตถุประสงค์
-ถูกต้อง ครบถ้วน และตอบสนองได้ตามที่ต้องการ
4.การปิดการขาย (Closing the Sales)
   หมายถึง"การที่พนักงานขายได้รับการตกลงสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากลูกค้าอย่างแน่นอนชัดเจน"เทคนิควิธีที่ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือมีปฎิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งมีดังนี้
-การปิดการขายโดยการให้ของแถม
-การปิดการขายโดยเสนอทางเลือกให้ลูกค้าตัดสินใจเลือก
-การปิดการขายโดยให้โอกาสสุดท้ายเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้า ฯลฯ
5.การติดตามผลและบริการหลังการขาย (After Sales Activities)
   เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าและบริการไปแล้ว ใช่ว่าภารกิจการขายจะสิ้นสุดลง เพราะเราไม่ต้องการขายของเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วจบกันไปจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริการหลังการขายที่ดี เพื่อให้ลูกค้าจดจำและเกิดการซื้อซ้ำในครั้งต่อไป การที่ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าอีกครั้งและยังพบกับพนักงานบริการลูกค้าคนเดิมที่คุ้นเคยกัน จะเกิดความรู้สึกที่เป็นกันเอง และไม่ลังเลใจที่ซื้อสินค้าตัวใหม่ๆ ที่เราแนะนำ ส่วนบริษัทที่ไม่เคยติดต่อลูกค้าอีกเลยหลังการขายอาจเสียฐานข้อมูลลูกค้าไปได้โดยง่าย เพราะหากเนิ่นนานไปอาจติดต่อลูกค้าไม่ได้อีก เนื่องจากไม่มีการอัพเดตข้อมูลลูกค้าเป็นระยะ ในที่สุดเราก็จะค่อยๆ เลือนหายไปจากใจลูกค้า



ดร.มนูญ บุญนัด “เซลส์แมนเครื่องมือแพทย์”