Service: Mon-Fri 8.00 AM-17.00 PM







มารู้จักเครื่องวัดอุณหภูมิกัน (Temperature) วัดไข้กัน

   ในช่วงนี้ไวรัส COVID-19 มาแรง มีหลายท่านทักถามมาเกี่ยวกับปรอทวัดไข้ มีแบบไหน อย่างไร ควรใช้แบบไหน ราคาเท่าไหร่ ซื้อที่ไหน 108 ปัญหา จากประสบการณ์ขายเครื่องมือแพทย์มามากกว่า 30 ปี นิยามปรอทวัดไข้ คือ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิในร่างกาย มาตรวัดค่าเป็น °C / °F ปรอทวัดไข้ที่จริงมีหลายแบบ หลากชนิด ได้แก่

1. แบบพ่อแม่ให้มา (Pa/Ma) หลักการใช้หน้ามือหลังมือวิเคราะห์ว่า ตัวร้อนหรือไม่ ประเมินเอาจากความรู้สึก วิธีนี้นิยมใช้กว่าพันปี เมื่อรู้สึกตัวรุมๆ ก็ดื่มน้ำ ออกไปวิ่ง กลับมาหายเลย ปัจจุบันวิธีนี้ยังใช้ได้ผลอยู่
2. แบบแท่งแก้ว (Mercurial) ภายในใส่สารปรอท ก่อนใช้จะสะบัดให้สารปรอทลดลงมา แล้วนำไปวัดที่ใต้ลิ้น, รักแร้ แต่ปัญหาอาจเสี่ยงต่อการตกแตก แล้วสารปรอทกระจายออกมา ซึ่งอันตรายมาก อีกทั้งปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกห้ามใช้ เพราะเป็นสารตกค้าง ทำให้เกิดโรค เช่น โรคมินามาตะ ที่ระบาดในประเทศญี่ปุ่น ในอดีต
3. แบบแถบแปะ (Indicator Pad) ส่วนใหญ่นิยมใช้ในเด็ก โดยแปะที่ศีรษะ ด้านหน้าเป็นแถบตัวเลขแสดงอุณหภูมิ ด้านหลังอาจเป็นกาวหรือเจล แปะทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วินาที ตัวเลขค่าค่อยๆ ปรากฏขึ้น
4. แบบปรอทดิจิตอล (Hard Tip) ลักษณะการใช้งานคล้ายกับปรอทแบบแก้ว แต่หลังจากองค์การอนามัยโลกห้ามใช้สารปรอท ผู้ผลิตก็หันมาผลิตภายใต้ระบบอิเล็กทรอนิคใช้แบตเตอรี่กลมๆ 1 ก้อน มีปุ่มกดรีเซ็ต แทนการสะบัด เมื่ออ่านผลจะมีสัญญาณเสียง “ปี๊บ” ดังขึ้น
5. แบบสัมผัสหน้าผาก (Forehead) ลักษณะคล้ายหัว Probe โดยกดสัญลักษณ์ขึ้นพร้อมที่จะวัดค่า L นำมาทาบตรงหน้าผาก ประมาณ 1-5 วินาที ก็จะอ่านค่าอุณหภูมิได้
6. แบบ Diaphragm สัมผัสทางรูหู (Ear Mode) ตาม Certificate พบว่าเป็นการวัดอุณหภูมิที่เที่ยงตรงที่สุด ทั้งนี้มีความต่างกันที่รู กรวยหูของแต่ละคนลึกตื้นไม่เท่ากัน ทำให้ต้องสวมปลอก (Probe Cover) ป้องกันเชื้อโรค สอดเข้าไปในรูหู 1-2 วินาที จะมีเสียงปี๊บอ่านค่าอุณหภูมิ แต่ปัญหาคือ ความสกปรกติดเชื้อบ้าง และ Probe Cover ต้องเปลี่ยน เสียตังค์
7. แบบ Infrared สัมผัสทางหน้าผาก (Forehead Infrared) มีลักษณะเหมือนค้อน แล้วแต่โรงงานออกแบบ ใช้ระบบ Infrared วัดอุณหภูมิที่หน้าผากในระยะ 1-5 เซนติเมตร ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ แต่เครื่องแบบนี้อาจมีค่าอุณหภูมิ +/- เพราะสภาพแวดล้อมระหว่างที่วัด เช่น ในห้องแอร์ หรือมีลมพัด บางครั้งค่าอาจผิดเพี้ยนไปได้
8. การวัดอุณหภูมิในฟังก์ชั่นของเครื่องติดตามการทำงานของสัญญาณชีพ (EKG Monitor) แบ่งการวัดได้ 2 ประเภท ได้แก่ - แบบวัดที่ผิวหนัง (Skin Probe) มีลักษณะ เป็นเม็ดกระดุม นำไปวางบนผิวหนังตามตำแหน่งต่างๆ เช่น ร่องอก, ข้อพับ - แบบสอดทวาร (Rectal Probe) ลักษณะปลายเหมือนหางหนู นำไปสอดในรูทวาร แต่วิธีนี้มีความคากเคลื่อนน้อยมาก ไม่ค่อยนิยมใช้ เพราะต้องใช้ Proctoscope ช่วยขยายในการนำหัว Rectum Probe เข้าไป ปัญหา Contaminant
9. เครื่องวัดอุณหภูมิในวงการอุตสาหกรรม, อุณหภูมิห้อง ฯลฯ มีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่ช่วงการอ่านค่าอุณหภูมิต่างกัน หลักการวิธีการวัดค่า (Measurement) คนละแบบกับการแพทย์

วิธีการเลือกใช้ควรพิจารณาดังนี้
1. คุณภาพ (Quality) ต้องมาก่อนราคา (ราคาตั้งแต่ 200-200,000 บาท)
2. ค่าความเที่ยงตรง (Accuracy) อย่าลืมว่าเราเอาเครื่องมาวัด (Measurement) เพื่อพิจารณาว่าอุณหภูมิในร่างกายเท่าไหร่ ก่อนการทานยาพารา, แอลไพริน ฯลฯ
3. มาตรฐาน (Standard, Certificate) ข้อกฎหมายที่กับกำควบคุม โดยนำเข้าถูกต้องตามพรบ, อย., ศุลกากร, มีมาตรฐานตามที่อย.กำหนด ตรวจสอบเกี่ยวกับพรบ.เครื่องมือแพทย์ถูกต้องหรือไม่
4. การรับประกันสินค้า อย่าเห็นแต่ของราคาถูก เห็นโฆษณาใน internet พอสั่งมาแล้วใช้งานไม่ได้ หรือมีปัญหา .... จะเรียกร้องสคบ. ปิดเวปหายไปแล้ว 5555+
5. ตัวแทนที่จำหน่ายจากโรงงานผู้ผลิต การบริการหลังการขาย ผู้ขายต้องแนะนำวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง รวมถึงวิธีแก้ไข ซ่อมแซม ตลอดจนมีช่างซ่อมหรือไม่ แน่นอน “ทุกสิ่งในโลกนี้มีเกิดย่อมมีเสียผุพัง”

ข้อควรระวังการใช้ปรอทวัดไข้ (Thermoscan) เพื่อคัดกรองไวรัส COVID-19
   ผู้ใช้งานควรระมัดระวังระยะการวัด เพราะระยะ (Length) ของเครื่องกำหนดโดยประมาณ 1-5 เซนติเมตร ในค่าความคลาดเคลื่อน +/- 0.2 °C (ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ) ใช้งานวัดอุณหภูมิผู้ป่วย ในระยะใกล้ชิดมาก อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ (ทางการแพทย์ว่าด้วยการวัดอุณหภูมิในการคัดกรองโรคไวรัส COVID-19 นี้ ควรห่างไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร) ผู้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิควรมีอุปกรณ์อื่นป้องกันร่วมอย่างปลอดภัย เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นนะครับ



ดร.มนูญ บุญนัด “เซลส์แมนเครื่องมือแพทย์”